รู้จักอาการแพ้กัญชา
Cannabis allergy (การแพ้กัญชา)
อาการและสาเหตุ
กัญชาจัดเป็นพืชดอกชนิดหนึ่ง ในตระกูล Cannabaceae สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยคือ Cannabis sativa ประกอบด้วยสารสำคัญคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) สำหรับ Hemp seed จะมี CBD เด่นกว่า
การแพ้เป็นปฏิกิริยาจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแตกต่างจากผลข้างเคียงจากสารในกัญชา เช่น อาการปากแห้งคอแห้ง มึนเมา ใจสั่น เป็นต้น อาการแพ้อาจพบตั้งแต่ ผื่นแพ้ลมพิษตาบวมจากการสัมผัส, อาการคัดจมูกน้ำมูกหายใจลำบากจากการสูดดม หรือการแพ้ชนิดรุนแรงเฉียบพลัน Routes of exposure และ sensitization อาจเข้ามาจากการสูดดม, การสัมผัสผ่านทางผิวหนัง การรับประทานหรือการสัมผัสจากการประกอบอาชีพ
เริ่มมีการค้นพบผู้ป่วยแพ้กัญชามากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการรายงานถึงอุบัติการณ์ที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าจะมีการพบผู้ป่วยมากขึ้นเนื่องจากความนิยมการใช้กัญชาที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันมีการค้นพบถึงสารก่อภูมิแพ้ในกัญชา เช่น โปรตีนโมเลกุลที่มีชื่อว่า nonspecific lipid transfer protein (ns-LTP)(Can s 3) และอื่นๆ
รูปที่ 1 สารก่อภูมิแพ้ในกัญชา
รูปที่ 2 การแพ้ข้ามกลุ่มของสารก่อภูมิแพ้ในกัญชาโดย ns-LTP
เชื่อว่าส่วนหนึ่งสารก่อภูมิแพ้ Can s 3 นี้มาจากการแพ้ข้ามกลุ่มหรือ cross-reactivity หมายถึงผู้ป่วยมีการแพ้ผักและผลไม้ชนิดอื่นที่มีสารนี้ (ns-LTP)ได้แก่ peach, apple, banana, nuts, tomato และผลไม้รสเปรี้ยวเช่นส้มหรือ grapefruit นำมาก่อน (รูปที่ 2) แล้วมาแพ้สาร ns-LTP ในกัญชา ทำให้มีการตั้งชื่อกลุ่มอาการนี้ว่า “cannabis-fruit/vegetable syndrome”
อาการแพ้ข้ามกลุ่มจากผักและผลไม้คล้ายกับโรคที่พบในการแพ้ข้ามกลุ่มระหว่างพืชในกลุ่ม birch (โมเลกุล Bet V1) และผลไม้จำพวกกลุ่ม Rosaceae fruits (apple, pear, peach, plum, cherry, strawberry, และ raspberry) หรือที่เรียกว่า oral allergy syndrome (OAS) อย่างไรก็ตาม พบว่าการแพ้จาก ns-LTP จะมีอาการรุนแรงกว่า OAS เนื่องจากโมเลกุล ns-LTP นั้นทนต่อการย่อยสลายในทางเดินอาหาร (gastroduodenal proteolysis) และความร้อนได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Bet v 1 นอกจากนั้น สาร Can s 3 ยังสามารถอธิบายถึงการแพ้ข้ามกลุ่มไปยังสารก่อภูมิแพ้จำพวกยางลาเท็กซ์และสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในเบียร์และไวน์หรือบุหรี่ tobacco (Nicotinia tabaccum) อีกด้วย
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแพ้กัญชาในรูปแบบต่างๆจาก เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา (รูปที่ 3) จะสังเกตได้ว่ากว่า ผู้ป่วย 12 จาก 15 คน มีโรคภูมิแพ้อื่นๆได้แก่ seasonal allergic rhinitis, asthma, eczema, หรือ food allergy ร่วมด้วย โดย 11 จาก 15 คน พบมีอาการตั้งแต่การกิน hemp seed ครั้งแรก และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอาการแพ้รุนแรงหรือ anaphylaxis ที่เหลือมาด้วยอาการคัดจมูก,น้ำมูก, คันจมูกหรือ เคืองตาเป็นต้น โดย 1 คนมีอาการหอบหืดกำเริบ
รูปที่ 3 ลักษณะอาการจากการรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยที่มีการแพ้กัญชา
ตัวอย่างผู้ป่วยหนึ่งคน มีอาการตาและริมฝีปากบวม 1 ชั่วโมงทันทีหลังรับประทาน cereal snack ซึ่งทำมาจาก hemp seed โดยไม่มีอาการหลังการสูบกัญชามาก่อน
รูปที่ 4 ตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการแพ้
ในส่วนการทดสอบทางผิวหนัง มีการใช้ทั้ง traditional hemp seed สำหรับการทดสอบเฉพาะ และ cannabis ของผู้ป่วยเอง พบผลบวกที่แตกต่างกันตาราง ค่าเฉลี่ย wheal size สำหรับ hemp seed 8 mm และ cannabis 12 mm
ทั้งนี้การแพ้กัญชาพบว่าสามารถถูกกระตุ้นได้โดย cofactors เหมือนการแพ้ชนิดอื่นๆได้แก่การออกกำลังกายหรือการกินยาแก้ปวดลดอักเสบชนิด nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การศึกษาที่ยืนยันถึงสารก่อภูมิแพ้จากกัญชายังมีค่อนข้างจำกัด มีการรายงานการทำการทดสอบจากกัญชาแบบต่างๆ รวมทั้งแบบสะกิดกัญชา raw materials แล้วนำมาสะกิดผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Prick–prick skin test ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบที่ใช้ในตรวจการแพ้ผักผลไม้ อย่างไรก็ตามการทดสอบแบบนี้มีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของส่วนประกอบและการปนเปื้อน
ห้องปฏิบัติการบางประเทศมีการทดสอบด้วยการเจาะเลือดได้ เช่น specific IgE (sIgE) antibody ต่อ industrial hemp, Thermo Fisher Scientific (Uppsala, Sweden)
ยังมีรายงานบางการศึกษาถึงการตรวจที่จำเพาะมากขึ้นได้แก่ Basophil activation test (BAT) ซึ่งพบความจำเพาะและความไวประมาณ 60% และ 75% ตามลำดับ จากการใช้ cannabis extract, recombinant Can s 3 และ specific IgE (cytometric bead array) with recombinant Can s 3
การรักษา
การรักษาที่มีการยืนยันมากที่สุดในปัจจุบันยังเป็นลักษณะของการหลีกเลี่ยงเป็นสำคัญ สำหรับการรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและลักษณะอาการ โดยมักมีการให้ยาแก้แพ้ ในกลุ่ม antihistamines, intranasal corticosteroid sprays, และ ophthalmic antihistamine drops คนไข้ที่มีอาการแพ้รุนแรงควรมีการพกยา auto-injectable epinephrine ไว้ด้วย
มีรายงานถึงการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การศึกษา Engler et al. รักษาผู้ป่วยแพ้กัญชารุนแรงจากการประกอบอาชีพ โดยใช้ Omalizumab พบได้ผลดี และการศึกษาของ Kumar et al. รายงานการทำภูมิคุ้มกันบำบัดในคนที่มีอาการภูมิแพ้จมูกและหอบหืดในช่วง Cannabis pollen season ได้
กล่าวโดยสรุปถึงแม้อุบัติการณ์ของการแพ้กัญชายังไม่พบเป็นที่แพร่หลายแต่มีแนวโน้มที่จะพบจำนวนผู้ป่วยได้มากขึ้นตามจำนวนของประชากรที่มีความนิยมการใช้กัญชาเพิ่มสูงขึ้น การเฝ้าระวังสังเกตอาการคนไข้เป็นสิ่งสำคัญ พึงระวังว่ามีรายงานการแพ้รุนแรงได้ โดยเฉพาะคนไข้ที่มีโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดจากการแพ้ pollen อยู่เดิม การรักษาเป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรงของการแพ้ การวินิจฉัยประกอบไปด้วยการทดสอบทางผิวหนังและหรือเจาะเลือด ทั้งนี้ยังต้องอาศัยข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
- Jackson et al. An emerging allergen: Cannabis sativa allergy in a climate of recent legalization. Allergy Asthma Clin Immunol (2020) 16:53
- Decuyper et al. Cannabis sativa allergy: looking through the fog. Allergy 2017; 72: 201–206.
- Alkhammash et al. Cannabis and hemp seed allergy. J Allergy Clin Immunol Pract. Sep-Oct 2019;7(7):2429-2430.e1.
- Decuyper et al. Cannabis allergy: A diagnostic challenge. Allergy. 2018 Sep;73(9):1911-1914.
- https://www.aaaai.org/tools-for-the-public/conditions-library/allergies/marijuana-cannabis-allergy
บทความจาก : bnhhospital.com
สำหรับในตอนนี้ ดอกกัญชา 16 สายพันธ์ุ เราปลูกเสร็จแล้ว สามารถมีขายให้กับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่นี่
ติดต่อฟาร์ม
Phone Number
- General Inquiries 087-026-4311 คุณตี๋
- Accounts Inquiries 082-092-1500 คุณมายด์
- Farm manager 087-045-9337 คุณสมชาย
Social contact
- Line@ ID: @ixx7178q
- WhatsApp: +66870264311
- Telegram ID: @Fx2Rich2024
- Facebook: วิสาหกิจชุมชนหงส์หินก้าวไกล